ในสมัยก่อนนั้น ชาวนาชาวสวนทั้งหลาย ต่างทำการเกษตรด้วยมือเปล่า ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียเวลาและทำได้อย่างยากลำบากแล้ว ยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรที่ได้นั้น ถูกเก็บเกี่ยวหรือเพาะปลูกได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ต่อมาในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดเครื่องจักรสำหรับการเกษตรขึ้นมากมาย รวมถึงรถแทรกเตอร์ ที่เข้ามาทำให้การทำการเกษตรของเรานั้น ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ และได้รับความสะดวกสบายในการทำงานมากขึ้น

รถแทรกเตอร์ประเภทต่างๆ
1. รถแทรกเตอร์อเนกประสงค์
รถแทรกเตอร์ประเภทนี้ จะมีขนาดเล็กกว่ารถแทรกเตอร์สำหรับการเกษตรทั่วไป แต่ด้วยการออกแบบตัวรถนั้น ทำให้แทรกเตอร์ประเภทนี้ มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในการทำสวน หรือจัดการที่ดินเพาะปลูก มากกว่าจะนำมาใช้ในการเพาะปลูกและผลผลิตทางการเกษตรในเชิงพาณิชย์
2. รถแทรกเตอร์สำหรับทำฟาร์ม
รถแทรกเตอร์สำหรับการเกษตร หรือการทำฟาร์มนั้น ถูกนำมาใช้ในการดึงเครื่องจักร, รถพ่วง, รถคราด หรือเครื่องจักอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปรับเปลี่ยนหน้าดิน หรือเก็บเกี่ยวผลผลิต รถแทรกเตอร์สำหรับทำฟาร์มแบบดั้งเดิมที่สุด จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ 2 ล้อ เหนือขึ้นไปจะเป็นที่นั่งเดี่ยวสำหรับคนขับ พร้อมด้วยเครื่องยนต์ที่อยู่ทางด้านหน้าของห้องคนขับ ทางด้านล่างจากส่วนเครื่องยนต์ ก็จะเป็นล้อหน้าขนาดเล็กกว่า ใช้สำหรับควบคุมทิศทางของรถนั่นเอง
3. รถแทรกเตอร์ทางวิศวกรรม
รถแทรกเตอร์ประเภทนี้ จะมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อการทำงานทางวิศวกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เครื่องตัก, จอบ, คราด, เครื่องไถหน้าดิน และอื่นๆ อีกมากมาย โดยอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาติดเข้ากับส่วนหน้าของตัวรถคือ เครื่องไถกลบ หรือเครื่องตัก และจากการที่รถแทรกเตอร์ประเภทนี้ มีเครื่องมือทางวิศวกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้มันสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้เป็นอย่างดี
4. รถแทรกเตอร์แบบเทหน้า
รถแทรกเตอร์ประเภทนี้จะคล้ายๆ กับรถแทรกเตอร์ทางวิศกรรม แต่ด้านหน้าองรถแทรกเตอร์ประเภทนี้ จะมีเครื่องตกอยู่ทางด้านหน้า ที่มีแขนจับเป็นข้อต่อระบบไฮโดรลิก อาจใช้กับแขนทั้งสองข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ นอกจากการใช้เครื่องตักเป็นอุปกรณ์ด้านหน้าแล้ว ยังมีการใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น แท่นยกสินค้า (Pallet Fork)หรือเครื่องยึดจับฟางข้าว (Bale grappler)ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งาน
5. รถแทรกเตอร์แบคโฮ
ชื่อของรถแทรกเตอร์ประเภทนี้ มีที่มาจากการที่ตัวรถ มีการติดเครื่องขุดดิน หรือแบคโฮอยู่ทางด้านหลัง และมีเครื่องตักอยู่ทางด้านหน้า รถแทรกเตอร์ประเภทนี้จึงมีขนาดใหญ่ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ารถเครน แบคโฮทางด้านหลังนั้น สามารถใช้ทำงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง, งานรื้อถอนขนาดเล็ก, การใช้งานขนส่งอุปกรณ์การก่อสร้าง, งานขุดเจาะ หรือแม้กระทั่งงานทำพื้นถนน ก็สามารถทำได้เช่นกัน
6. รถแทรกเตอร์ทำสวน
รถแทรกเตอร์ประเภทนี้ จะมีขนาดเล็ก และใช้สำหรับการพรวนดินและการทำสวนขนาดย่อม จึงถูกออกแบบให้มีโครงรถ, ช่วงล่าง และเครื่องยนต์ที่แข็งแรง ทนทาน นอกจากนี้ รถแทรกเตอร์ทำสวน ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อการทำงานอื่นๆ ได้อีก เช่น ไถพรวน, เพาะปลูก, ไถกลบ, บดดิน และไถหน้าดิน เป็นต้น
7. รถแทรกเตอร์แบบ EPA
รถแทรกเตอร์ประเภทนี้ ถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงเหมือนกับรถยนต์ หรือรถบรรทุก แต่แตกต่างที่ไม่มีที่นั่งผู้โดยสารหลังที่นั่งคนขับ พร้อมทั้งยังมีเกียร์ควบคุมรถอีก 2 กระปุก ซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มความเร็วให้รถ เมื่อต้องบรรทุกของที่มีน้ำหนักมาก
8. รถแทรกเตอร์พ่วง
ด้วยเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ และเพลารถจำนวนมาก ทำให้รถแทรกเตอร์พ่วง มีหน้าที่สำคัญในการดึงรถพ่วงที่มีขนาดยาว โดยมักจะใช้ในการขนส่งสินค้าในระยะทางไกลๆ อีกทั้งยังสามารถใช้ดึงหรือเชื่อมต่อกับรถพ่วง 10 ล้อได้ด้วย
9. รถรางแทรกเตอร์
ด้วยเครื่องยนต์ที่ได้พลังงานมาจากการปั่นไฟ และการควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ด้วยระบบไฟฟ้า เหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรถรางแทรกเตอร์ ที่ทำให้รถสามารถออกแรงขับเคลื่อนมหาศาล เพื่อดึงให้รถที่บรรทุกสินค้าบนรางคันอื่นๆ สามารถเคลื่อนที่ไปตามกันได้นั่นเอง

โช๊คมอเตอร์ไซค์ยินดีต้อนรับสู่ สถานที่สัมมนา แก่งกระจาน พาราไดซ์ รีสอร์ท เชิญทุกท่านมาสัมผัสกับกลิ่นไอลูกทุ่งผสมลูกกรุง ได้ครบทุกอรรถรส สีสันตื่นตา ตื่นใจ

เที่ยวฟิลิปปินส์ It’s more fun in the Philippines. Wondrous beaches, breath-taking underwater world, remarkable scenery, exotic floras and faunas, ideal land and ocean activities, fascinating local cuisine, plentiful smiles of the Filipino people

ต่อตัวถังรถบรรทุกอู่มนฑกานต์ยนต์ เป็นอู่ซ่อม อู่ ต่อตู้แห้ง ซ่อมตู้ ควบคุมอุณหภูมิ ต่อตัวถังรถบรรทุก | Truck assembly container truck, automobile repairs & spray paint